วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กูเกิลเปิดตัว Google Maps Gallery นำข้อมูลเชิงสถิติมาเปรียบเทียบเชิงแผนที่

เมื่อเช้าผมเข้าไปดู blognone แล้วเจอข่าวว่า กูเกิลเปิดตัวบริการใหม่ Google Maps Gallery โดยกูเกิลจะนำภาพแผนที่ในอดีต (ที่วาดด้วยมือ) หรือแผนที่/ข้อมูลเชิงสถิติจากหน่วยงานต่างๆ มา "ทาบ" ลงบน Google Maps ให้ดูกันง่ายๆ รู้สึกตื่นเต้นว่านี่แหละ ไอ้บริการดีๆ อย่างนี้ หน่วยงานภาครัฐของเราที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลระดับประเทศหลาย ๆ หน่วยงานควรจะเอามาทำบ้าง เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลทั่วไป หรือนักวิจัยต่าง ๆ ได้เห็นพฤติกรรมของข้อมูล โดยอิงจากแผนที่ และเข้าใจได้ง่ายกว่า ดูตัวเลขแล้วจินตนการเอาว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้ และสมมุติฐานงานวิจัยถูกบ้างผิดบ้าง เพราะอย่าลืมนะครับหากคุณนำข้อมูลระดับประเทศมาวิเคราะห์นั้นข้อมูลมันไม่ได้น้อยเลย อย่างเตรียมข้อมูลก็ใช้เวลามากโขแล้วไหนต้องนำข้อมูลเปรียบเทียบเชิงพื้นที่ตั้งสมมุติฐานอีก โอ๊ยคิดแล้วก็ปวดหัว ถ้ายังไม่เห็นภาพผมขอยกตัวอย่างจาก Google Maps Gallery ที่เพิ่งเปิดให้บริการแล้วกัน  

จากภาพนี่เป็นสถิติการใช้อินเตอร์เน็ตประชากรในแต่ละประเทศ ปี 2012 (ข้อมูลสถิติจากหน่วยงาน ITU) เมื่อดูจากระดับความเข้มของสีในแต่ละประเทศ พบว่า ประเทศไทยมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตคิดตามสัดส่วนของประชากรทั้งประเทศอยู่ 26.5 % ซึ่งจากดูคร่าว ๆ สถิติผู้ใช้อินเตอร์เน็ตของบ้านเรา  ยังเยอะกว่าพม่า ลาว อินโดนีเซียและกัมพูชา แต่ยังน้อยกว่ามาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และจีน ซึ่งหากย้อนไปดูสติถิผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ สำนักงานสถิติแห่งชาติ(NSO) เก็บข้อมูลก็ถือว่ามีข้อมูลใกล้เคียงกันมาก จากการแสดงผลดังกล่าวทำให้เราเข้าใจได้ง่าย แม้ไม่มีตัวเลขสักตัวเดียวอยู่บนแผนที่แต่เราก็สามารถทราบถึงความแตกต่างของจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตของแต่ละประเทศได้อย่างชัดเจน 


แหล่งที่มา  http://www.blognone.com/node/53845

หน่วยงาน ICPSR ตัดสินใจใช้บริการ DOI ของ Datacite เพื่อจัดเก็บข้อมูล

ด้วยเหตุที่นอนไม่หลับเลยมาเปิดเว็บไซต์หาข้อมูลเพิ่มพูนความรู้ กลับทำให้ตื่นเต้นนอนไม่หลับยิ่งกว่าเดิม เมื่อ หน่วยงาน ICPSR ตัดสินใจย้ายข้อมูล DOI จาก Crossref มาใช้บริการกับหน่วยงาน Datacite (หน่วยงาน Datacite คือหน่วยงาน Rigistration Agency ที่รับลงทะเบียนหมายเลข DOI ซึ่งเมื่อปลายปี 2555 สำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ก็ได้รับอนุมัติจากหน่วยงาน Datacite ให้เป็นสมาชิกเช่นกัน จากข่าวเก่า http://www.datacite.org/node/75)





เพื่อความเหมาะสมกับการให้บริการของผู้ใช้บริการของ ICPSR เอง โดยการย้าย การให้บริการดังกล่าวนี้ได้รับความร่วมประสานกันเป็นอย่างดีระหว่าง Crossref และ Datacite ซึ่งการย้ายข้อมูลดังกล่าวนี้คาดว่าจะช่วยให้นักวิจัยทั่วไปสามารถสิบค้นข้อมูล ได้ง่ายขึ้น ซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยงาน ICPSR นั้นมีข้อมูลของหน่วยงานสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย และหน่วยงานรัฐบาลมากถึง 700 กว่าองค์กร  ได้ยินข่าวนี้แล้วรู้สึกเป็นปลื้มมมม http://www.datacite.org/node/112