จริง ๆ ระบบนี้ เกิดขึ้นประมาณเมื่อ 6-7 ปีที่แล้ว ภายใต้การดูแลของ Merce Crosas and Gary King โดยได้ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Virtual Data Center โดยโครงการนี้เรียกว่า Dataverse Network เทคโนโลยีนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย Harvard และ MIT ซึ่งในปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 และ 2 ของโลก ได้นำเสนอรูปแบบการพัฒนาโปรแกรมเว็บแอฟพลิเคชัน ระบบเครือข่าย มาตรฐานการอ้างอิงข้อมูล(data citation standards) และวิธีการทางสถิติที่ออกแบบขึ้นเพื่อเพิ่มคุณค่าในการเผยแพร่ข้อมูลอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้เพื่อทำให้ข้อมูลเป็นมาตรฐานสากล มีการแลกเปลี่ยนเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะมากขึ้น และตรวจสอบข้อมูลได้โดยการใช้เทคโนโลยีที่ใช้งานง่าย ข้อมูลจะเป็นความลับหรือเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของข้อมูลอย่างแท้จริง จุดประสงค์ก็เพื่อแก้ไขปัญหาทางการละเมิดลิขสิทธิ์และการใช้ข้อมูลร่วมกันผ่านเทคโนโลยีทางสังคมศาสตร์ ซึ่งมุ่งผลให้เกิดประโยชน์ทั้งวงการด้านวิทยาศาสตร์ (scientific community) รวมถึงกรณีเมื่อเกิดความขัดแย้งในมุมมองของนักวิจัยแต่ละท่าน ซึ่งระบบนี้จะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลทำได้อย่างสะดวก ประหยัด รวดเร็วและปลอดภัยยิ่งขึ้น จึงทำให้โอกาสที่องค์กรจะตัดสินใจเผยแพร่ข้อมูลเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น โดยระบบนี้จะมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีระบบจัดเก็บข้อมูลที่ได้มาตรฐาน
จะจัดเก็บอยู่ในรูปแบบ DDI
ซึ่งรูปแบบเหมาะสำหรับการแลกเปลี่ยนแลกเปลี่ยนรายละเอียดของข้อมูล(Metadata) ผ่านโครงข่ายอินเตอร์เน็ตและในปัจจุบันเป็นมาตรฐานที่ให้การยอมรับทั่วโลก
ซึ่งรายละเอียดของข้อมูล (Metadata) มีตัวอย่างดังภาพที่ 1
ภาพที่
1
รายละเอียดของข้อมูล (Metadata)
2. เผยแพร่ผลงานวิจัยไปสู่ฐานข้อมูลงานวิจัยระดับประเทศและระดับโลก
ภาพที่
2 รูปแบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูล
จากภาพที่ 2 แสดงถึงลักษณะการเชื่อมโยงฐานข้อมูลงานวิจัยแห่งชาติ ระบบนี้มีเทคโนโลยีมาตรฐานสากลทางด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลงานวิจัยชื่อว่า
OAI-PHM ซึ่งเป็นมาตรฐานในการเชื่อมโยงข้อมูลงานวิจัย บทความ วารสารต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ผลงานวิจัยต่าง
ๆ ที่ถูกจัดเก็บในระบบนั้นสามารถนำไปเผยแพร่ยังไประบบที่มีมาตรฐาน OAI-PHM ได้ จากภาพที่ 3 จtเห็นได้ว่าฐานข้อมูลผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สามารถนำผลงานวิจัยไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย
Harvard ได้
ภาพที่
3
เผยแพร่ผลงานวิจัยบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัย Harvard
3.
บริการให้หน่วยงานต่าง
ๆ จัดเก็บข้อมูลลักษณะ
ระบบเป็นการจัดเก็บข้อมูลแบบ
Virtual Data Center โดยระบบนี้จะติดตั้งฝังอยู่ในเว็บไซต์หน่วยงานนั้น
ๆ เสมือนระบบถูกติดตั้งอยู่ในหน่วยงานนั้น ๆ จริง ดังภาพที่ 4 ซึ่งจะทำให้หน่วยงานเจ้าของข้อมูลได้รับผลประโยชน์อย่างแท้จริง
ภาพที่ 4
ระบบ Dataverse ฝังอยู่ในเว็บไซต์
4.
เพิ่ม Webometric Ranking
เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยในด้าน webometric
ranking โดยเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
4.1.
Size
(S) หมายถึง จำนวนเว็บเพจ
จากเว็บไซต์ทั้งหมดที่อยู่ภายใต้ domain เดียวกัน (เช่น .ru.ac.th)
ที่สืบค้นได้โดย Search Engines ซึ่งระบบ Dataverse
Network หากมีจำนวนงานวิจัยที่จัดเก็บอยู่ในระบบ 1 วิจัยก็จะนับเป็น 1 ลิงค์
4.2. Visibility (V) หมายถึง
จำนวน external links ที่ได้รับ (inlinks) มีการเชื่อมโยงหรืออ้างอิงมาจากภายนอก สืบค้นโดยใช้ search engines
เช่น google Yahoo ซึ่งระบบ Dataverse
Network มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนผลงานวิจัยต่าง ๆ
ที่จัดเก็บระบบ ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลกได้
ซึ่งหน่วยงานเบื้องต้นที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้คือ IQSS จาก Harvard University และ National
Research Database จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
4.3. Rich Files (R) หมายถึง
จำนวนแฟ้มข้อมูล หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั้งหมดที่อยู่ภายใน domain
เดียวกัน ในรูปของ Acrobat (pdf), PostScript (ps), MS Word
(doc), MS Powerpoint (ppt), MS Excel (xls) เป็นต้น ซึ่งระบบ Dataverse
Networkสามารถรองรับการจัดเก็บรูปแบบไฟล์ข้อมูลทุกชนิด
4.4. Scholar (Sc) หมายถึง จำนวนบทความวิชาการ
และการอ้างอิงบทความทางวิชาการ ที่ปรากฎภายใน domain ของมหาวิทยาลัย
และสามารถสืบค้นได้ด้วย google scholar ระบบ
Dataverse Network สามารถจัดเก็บข้อมูลไฟล์เอกสาร
ไฟล์ข้อมูลดิบ และมีความสามารถ ทำให้ google สามารถสืบค้นข้อมูลผลงานวิชาการ
บทความต่าง ๆ ผ่านระบบ Dataverse Network ได้
หากสนใจนะครับลองเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ thedata.org หรือ ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ http://www.slideshare.net/sifer3178/dataverse-admin-guide-212-thai-language
หากสนใจนะครับลองเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ thedata.org หรือ ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ http://www.slideshare.net/sifer3178/dataverse-admin-guide-212-thai-language